วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

คำนิยามของศัพท์เทคนิคพื้นฐาน

มวล  (Mass) คือ  การวัดปริมาณของสสาร ค่านี้จะเกี่ยวข้องกับความเฉื่อยของวัตถุ และมักจะพิจารณาว่าคงที่

ความยาว  (Length)  คือ  ระยะทางที่เดินทางไปได้ตามเส้นตรงหรือเส้นโค้ง จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดปลาย

เวลา  (TIME)  คือ ช่วงเวลาระหว่างการกระทำหรือการเคลื่อนที่เกิดขึ้น

หมายเหตุ :  มวล , ความยาว และเวลา เป็นปริมาณสเกล่าร์ หน่วยของปริมาณเหล่านี้ เป็น หน่วยพื้นฐานของระบบการวัด หน่วยทางกลศาสตร์อื่น ๆ จะได้รับการพิจารณาหรือคำนวณต่อมา เป็นหน่วยขั้นทุติยภูมิ

แรง   (Force)  คือ การกระทำบนวัตถุใด ๆ ที่ทำให้มันเคลื่อนที่ หรือหยุด หรือเปลี่ยน ความเร็วหรือ ทิศทางในการเคิ่อนที่ของมัน แรงมักจะทำให้เกิดความเร่ง ทิศทางของความเร่ง ที่เกิดจะเป็นทิศเดียวกัน กับทิศทางของแรง และขนาดของความเร่งจะแปรผันตามขนาดของแรง แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์
โมเมนต์  (Moment)  คือ การวัดการหมุนที่แรง หรือแรงคู่ควบใด ๆ กระทำ ให้เกิดการหมุนรอบจุด อ้างอิงจุดหนึ่ง ๆ โมเมนต์เป็นปริมาณสเกล่าร์ แต่ปกตอมักจะถือเครื่องหมายเพื่อบ่งบอกว่า หมุนตามเข็มนาฬิกา หรือหมุนทวนเข็มนาฬิกา โปรดจำไว้ว่า แรงเดี่ยว ๆ สามารถก่อให้ เกิดการหมุนตามเข็มนาฬิกา รอบจุดอ้างอิง จุดหนึ่ง และขณะเดียวกันทำให้เกิดการหมุนทวนเข็มนาฬิกา รอบจุดอ้างอิงอีกจุดหนึ่งได้เช่นกัน

แรงคู่ควบ (Couple) คือ คู่ของแรงที่ขนานกัน และมีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงข้ามกัน มันมีผลเพียงก่อให้เกิดโมเมนต์เท่านั้น และการเคลื่อนที่จากผลของแรงคู่ควบคือการหมุนรอบตัวเอง
ความดัน  ( Pressure)  คือ แรงกระทำภายนอกที่กระทำลงบนพื้นที่หนึ่งหน่วย มันมักจะคำนวณได้ จากการรวมแรงภายนอกทั้งหมด ที่กระทำลงบนวัตถุหรือสิ่งของ แล้วหารด้วยขนาดพื้นที่หน้าตัดทั้งหมดของ วัตถุหรือสิ่งของ เมื่อความดันเกิดจากแรง มันจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นความดัน ไฮโดลิคจากแรงดันที่กระทำทุกทิศทางทิศทางของความดันไฮโดลิคนี้จะถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจ

จุดศูนย์กลางมวล  (Centroid)   คือ จุดศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วงของพื้นที่ระนาบ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความหนาของพื้นที่

โมเมนต์ของความเฉื่อย  ( Moment of inertia )  ปริมาณนี้ยากต่อการสร้างภาพให้เข้าใจ มันเกี่ยวข้องกับความสามารถของคานที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดนั้น ในการต้านการดัด สามารถอธิบายได้ดีที่สุดจากสมการทางคณิตศาสตร์ 

ที่มา  https://sites.google.com/site/rtech51202/hnwy-thi-1

4 ความคิดเห็น:

ทักทายนะครับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องหลักการพื้นฐานกลศาสตร์เครื่องกล เจ้าของเว็บไซต์ นายสนธยา     สมหวัง   ...